การเรียนการสอนวิชากฎหมายพาณิชย์

ยินดีต้อนรับเข้าสู่การเรียนการสอนวิชากฎหมายพาณิชย์
บทที่ 11 จำนอง-จำนำ


สัญญาจํานํา หมายถึง สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จํานํา ส่งมอบสังหาริมทรัพย์
สิ่งหนึ่ง ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจํานํา เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้
จากหลักกฎหมายข้างต้นจะเห็นว่า สัญญาจํานํา เป็นการประกันหนี้ด้วยทรัพย์สิน
เช่นเดียวกับ สัญญาจํานองและในทํานองเดียวกันต้องมีสัญญาก่อให้เกิดสภาพการเป็นหนี้
หรือสัญญาประธานเสียก่อน สัญญาจํานําจึงจะเกิดขึ้นได้
3.1 ลักษณะของสัญญาจํานํา
สัญญาจํานํามีลักษณะดังต่อไปนี้
3.1.1 สัญญาจํานําเป็นสัญญาอปกรณ์เช่นเดียวกับสัญญาค้ำประกันและ
สัญญาจํานองกล่าวคือ ต้องมีสัญญาการก่อให้เกิดสภาพหนี้อันเป็นสัญญาประธานเสียก่อน สัญญาจํานําจึงจะเกิดขึ้นได้
3.1.2 ผู้จํานําอาจเป็นตัวลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกก็ได้
3.1.3 ทรัพย์สินที่จํานํากันได้ต้องเป็นสังหาริมทรัพย์เท่านั้นรวมไปถึงสิทธิ
ซึ่งมีตราสารกํากับ เช่นใบหุ้นหรือใบหุ้นกู้ก็อาจจํานําได้เช่นกัน
3.1.4 ผู้จํานําต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จํานําไว้ให้แก่ผู้รับจํานํา สัญญาการจํานํา
จึงจะสมบูรณ์

3.2 สิทธิและความรับผิดของผู้รับจํานํา
3.2.1 ผู้รับจํานํามีสิทธิยึดทรัพย์สินที่จํานํานั้นไว้ได้
3.2.2 ผู้รับจํานําต้องรักษาทรัพย์สินที่จํานําไว้ให้ปลอดภัยและต้องสงวน
ทรัพย์สินนั้นไว้ อย่างเช่นวิญญชนจะพึงสงวนรักษาทรัพย์สินของตนเอง
3.2.3 ผู้รับจํานําจะนําเอาทรัพย์สินที่จํานําออกใช้สอยเองหรือให้บุคคลอื่น
ใช้สอยหรือเก็บ รักษาโดยผู้จํานํามิได้ยินยอมไม่ได้
3.2.4 หากมีดอกผลนิตินัยงอกจากทรัพย์สินที่จํานํา 

3.3 การบังคับจํานํา
ผู้รับจํานําอาจบังคับจํานําเอาแก่ทรัพย์สินที่จํานํา เมื่อหนี้ถึงกําหนดชําระ
และลูกหนี้ไม่ชําระหนี้ โดยมีหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกําหนดไว้ดังนี้
3.3.1 ผู้รับจํานําต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ก่อนว่า ให้ชําระหนี้
ภายในเวลาอันควร ซึ่งได้กําหนดให้ไว้ในคําบอกกล่าวนั้น
3.3.2 ถ้าลูกหนี้ไม่ชําระหนี้ภายในเวลาที่กําหนดให้ผู้รับจํานํามีสิทธิ
นําเอาทรัพย์สินที่รับจํานํา ไว้ออกขายทอดตลาดได้ แต่ผู้รับจํานําต้องมีจดหมายแจ้งเวลาและสถานที่ซึ่งจะขายทอดตลาดให้ผู้จํานํา ทราบด้วย
3.3.3 ถ้าผู้รับจํานําไม่สามารถบอกกล่าวผู้จํานําก่อนได้ ผู้รับจํานําจะเอาทรัพย์สิน
ที่รับจํานํา ออกขายทอดตลาดได้เมื่อหนี้ค้างชําระมาล่วงเวลาเดือนหนึ่งไปแล้ว
3.3.4 ผู้รับจํานําสามารถนําทรัพย์สินที่จํานําและเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมาย
กําหนดออกขาย ทอดตลาดได้โดยไม่ต้องรอคําสั่งศาล เนื่องจากทรัพย์สินที่จํานํา
อยู่ในความครอบครองของผู้รับจํานํา อยู่แล้วทั้งหมดจนกว่าจะได้รับชําระหนี้ครบถ้วน
3.3.5 เมื่อบังคับจํานําได้เงินเท่าใด ผู้รับจํานําต้องจัดสรรชําระหนี้
ให้เสร็จสิ้นไปเสียก่อน ถ้ามี เงินเหลือต้องส่งคืนให้แก่ผู้จํานําหรือแก่บุคคลผู้ควรจะได้เงินนั้น ถ้าได้เงินน้อยกว่าจํานวนหนี้ที่ค้างชําระ กฎหมายกําหนดให้ลูกหนี้ยังคงต้องรับใช้
ในส่วนที่ขาดอยู่จนครบ
3.3.6 ถ้าทรัพย์สินที่จํานํามีหลายสิ่งเพื่อประกันหนี้รายเดียวกัน เจ้าหนี้ผู้รับจํานํา
จะเลือกเอา ทรัพย์สินสิ่งใดออกขายก็ได้ เท่าที่จําเป็นเพื่อชําระหนี้ที่ค้างชําระนั้น

3.4 ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาจํานํา
สัญญาจํานําย่อมระงับสิ้นไปเพราะเหตุต่อไปนี้
3.4.1 เมื่อหนี้ประธานระงับสิ้นไปเพราะเหตุอื่นใดอันมิใช่เหตุอายุความ
หนี้ตามสัญญาจํานํา อันเป็นหนี้อุปกรณ์ย่อมระงับสิ้นไปด้วย
3.4.2 เมื่อผู้รับจํานํายอมให้ทรัพย์สินซึ่งรับจํานําไว้นั้นกลับคืนไป
สู่ความครอบครองของ ผู้จํานํา สัญญาจํานําย่อมระงับ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น