ลักษณะทั่วไปของนิติกรรม
การกระทำที่จะเป็นนิติกรรมจะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 5 ประการ
1. นิติกรรมต้องเริ่มจากการกระทำของบุคคลโดยการแสดง เจตนา
2. การแสดงเจตนาต้องชอบด้วยกฎหมาย
3. การแสดงเจตนาทำโดยสมัครใจ
4. ผู้แสดงเจตนามุ่งโดยตรงที่จะก่อให้เกิดความผูกพันตาม กฎหมาย (นิติสัมพันธ์) ตามที่แสดงเจตนาออกมา
5. มีการเคลื่อนไหวในสิทธิคือ เป็นการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับสิทธิ
1. นิติกรรมต้องเริ่มจากการกระทำของบุคคลโดยการแสดง เจตนา
2. การแสดงเจตนาต้องชอบด้วยกฎหมาย
3. การแสดงเจตนาทำโดยสมัครใจ
4. ผู้แสดงเจตนามุ่งโดยตรงที่จะก่อให้เกิดความผูกพันตาม กฎหมาย (นิติสัมพันธ์) ตามที่แสดงเจตนาออกมา
5. มีการเคลื่อนไหวในสิทธิคือ เป็นการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับสิทธิ
ความสามารถของบุคคลในการทำนิติกรรม
บุคคล หมายถึง สิ่งที่สามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมาย ดังนั้นโดยหลักแล้วบุคคลย่อมมีความสามารถในการทำนิติกรรมได้ทั้งสิ้น เว้นแต่บุคคลนั้นจะเป็นผู้หย่อนความสามารถหรือกฎหมายจำกัดความสามารถในการทำนิติกรรมไว้ ทั้งนี้เพื่อช่วยเหลือคุ้มครองผลประโยชน์ของบุคลเหล่านั้น
ผู้หย่อนความสามารถ หมายถึงบุคคลดังต่อไปนี้
1. ผู้เยาว์ หมายถึง บุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย ซึ่งบุคคลจะบรรลุนิติภาวะได้ มีเงื่อนไขดังนี้
ก. อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
ข. ทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งการสมรสตามกฎหมายนั้นจะทำได้เมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ โดยได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมของทั้งสองฝ่าย หรือหากมีอายุน้อยกว่า 17 ปี หากมีเหตุสมควรและมีดุลพินิจของศาลอนุญาตให้สมรสได้ บุคคลดังกล่าวนั้นจะกลายเป็นบุคคลผู้บรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย แม้ต่อมาหย่าขาดจากกันขณะอายุยังไม่ถึง 20 ปี ก็ยังคงเป็นบุคคลผู้บรรลุนิติภาวะเช่นเดิม
2. คนไร้ความสามารถ หมายถึง คนวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ และตั้งผู้อนุบาลเป็นผู้ดูแลคนไร้ความสามารถ การทำนิติกรรมของคนไร้ความสามารถนั้น คนไร้ความสามารถจะทำนิติกรรมโดยลำพังไม่ได้ หรือทำโดยได้รับความยินยอมจากผู้อนุบาลไม่ได้มิฉะนั้นนิติกรรมจะตกเป็นโมฆียะ
3. คนเสมือนไร้ความสามารถ หมายถึง คนที่ไม่ถึงกับวิกลจริต แต่มีเหตุบกพร่องบางประการไม่สามารถจัดการงานของตนได้ ศาลจึงตั้งผู้ดูแลคนเสมือนไร้ความสามารถ เรียกว่า ผู้พิทักษ์
การทำนิติกรรม โดยหลักคนเสมือนไร้ความสามารถทำนิติกรรมได้โดยลำพัง ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ แต่มีข้อยกเว้นในการทำนิติกรรมบางประเภทเท่านั้นที่กฎหมายกำหนดให้คนเสมือนไร้ความสามารถต้องได้รับความคุ้มครองและช่วยเหลือโดยต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ หากฝ่าฝืนนิติกรรมตกเป็นโมฆียะ เช่น การกู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน นำทรัพย์สินไปลงทุนการรับประกัน การให้โดยเสน่หา การเสนอคดีต่อศาล หรือการดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ เป็นต้น
4. คู่สมรส หมายความ ถึงสามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายโดยหลักแล้วคู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสามารถทำนิติกรรมโดยลำพังตนเองได้ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมสรอีกฝ่ายหนึ่ง แต่มีข้อยกเว้นในการทำนิติกรรมบางประเภทเท่านั้นที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส กฎหมายกำหนดให้การทำนิติกรรมนั้น ๆ คู่สมรสโดยต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งก่อน หากฝ่าฝืนนิติกรรมตกเป็นโมฆียะเช่น ขาย แลก เปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินกว่า 3 ปี ให้กู้ยืมเงินให้โดยเสน่หา ประนีประนอมยอมความหรือมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย เป็นต้น
แบบแห่งนิติกรรม
แบบของนิติกรรมหรือกรอบพิธีภายนอกของนิติกรรมนั้น โดยหลักแล้วแม้นิติกรรมจะสมบูรณ์เมื่อมีการแสดงเจตนาก็ตาม แต่การแสดงเจตนาอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ ต้องทำตามแบบหรือกรอบพิธีภายนอกของนิติกรรมเสียก่อน มิฉะนั้นมีผลเป็นโมฆะ อย่างไรก็ตามกฎหมายไม่ได้กำหนดแบบนิติกรรมในทุกเรื่อง หากนิติกรรมใดกฎหมายไม่ได้กำหนดแบบไว้ นิติกรรมนั้นอาจสมบูรณ์ได้เพียงการแสดงเจตนา
แบบของนิติกรรมที่กฎหมายกำหนดไว้นั้น สามารถแยกเป็น 4 ประเภทดังนี้
3.1 แบบที่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพบนักงานเจ้าหน้าที่เช่น สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์พิเศษซึ่งได้แก่เรือกำปั่นหรือเรือที่มีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไป เรือยนต์หรือเรือกลไฟมีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป แพและสัตว์พาหนะ แลกเปลี่ยน ให้ จำนอง เป็นต้น กฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
3.2 แบบที่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แบบของนิติกรรมประเภทนี้กำหนดเพียงต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้นไม่ได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือ เช่น การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท การจดทะเบียนสถานะของบุคคล ได้แก่การเกิด การตาย การสมรส การหย่า การรับรองบุตร การรับบุตรบุญธรรม กฎหมายกำหนดให้ต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
3.3 แบบที่ต้องทำเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองหรือแบบลับ
3.4 แบบที่ต้องทำเป็นหนังสือ กล่าวคือต้องลงลายมือชื่อในหนังสือที่ทำนิติกรรม หนังสือนั้นจะทำเป็นภาษาต่างประเทศก็ได้ จะเขียนเองหรือพิมพ์ก็ได้
ส่วนลายมือชื่อนั้น หากคู่กรณีต้องการใช้พิมพ์นิ้วมือ หรือเป็นแกงไดตราประทับ หรือเครื่องหมายอื่นทำนองเช่นว่านั้นแทนการลงลายมือชื่อ หากมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนให้ถือเสมือนกับลงลายมือชื่อ
นิติกรรมที่ต้องทำเป็นหนังสือ เช่น สัญญาเช่าซื้อ หรือการทำพินัยกรรมแบบธรรมดา เป็นต้น
วิดีโอดีเป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งของการเรียนเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น