การเรียนการสอนวิชากฎหมายพาณิชย์

ยินดีต้อนรับเข้าสู่การเรียนการสอนวิชากฎหมายพาณิชย์
บทที่ 6 เช่าซื้อ


 ความหมายของสัญญาเช่าซื้อ คือ สัญญาที่เจ้าของทรัพย์สินเอาทรัพย์สินของตนออกให้ผู้อื่นเช่า เพื่อใช้สอยหรือเพื่อให้ได้รับประโยชน์ และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์นั้น หรือจะให้ทรัพย์สินที่เช่าตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ เมื่อได้ใช้เงินจนครบตามที่ตกลงไว้โดยการชำระเป็นงวด ๆ จนครบตามข้อตกลง สัญญาเช่าซื้อมิใช่สัญญาซื้อขายผ่อนส่ง แม้ว่าจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันเรื่องชำระราคาเป็นงวด ๆ ก็ตาม เพราะการซื้อขายผ่อนส่งนั้นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นของผู้ซื้อทันทีขณะทำสัญญา ไม่ต้องรอให้ชำระราคาครบแต่ประการใด ส่วนเรื่องสัญญาเช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าบอกเลิกสัญญาบรรดาเงินที่ได้ชำระแล้ว ให้ริบเป็นของเจ้าของทรัพย์สิน และเจ้าของทรัพย์สินชอบที่จะกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าซื้อได้ หลักเกณฑ์ที่สำคัญของสัญญาเช่าซื้อ คือ 1. ผู้ให้เช่าซื้อต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ใช้เช่า 2. ผู้ให้เช่าซื้อนำทรัพย์ของตนให้ผู้เช่าซื้อไปใช้ประโยชน์ 3. ผู้ให้เช่าซื้อให้คำมั่นว่า จะขายทรัพย์สินนั้นแก่ผู้เช่าซื้อหรือให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เช่าซื้อ 4. ผู้เช่าจะต้องชำระค่าเช่าซื้อเป็นงวดๆ เท่านั้นเท่านี้ จนครบตามที่ตกลงกัน 5. สัญญาเช่าซื้อนั้นถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ ถือว่าเป็นโมฆะ 2. แบบของสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อจะต้องทำเป็นหนังสือ จะทำด้วยวาจาไม่ได้ มิฉะนั้น จะเป็นโมฆะเสียเปล่า ทำให้ไม่มีผลตามกฎหมายที่จะผูกพัน ผู้เช่าซื้อกับผู้ให้เช่าซื้อได้ การทำสัญญาเป็นหนังสือนั้น จะทำกันเองก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้เช่าซื้อจะเขียนสัญญาเอง หรือจะใช้แบบพิมพ์ที่มีไว้กรอก ข้อความลงไปก็ได้ หรือจะให้ใครเขียนหรือพิมพ์ให้ทั้งฉบับก็ได้ แต่สัญญานั้นจะต้องลงลายมือชื่อของผู้เช่าซื้อ และผู้ให้เช่าซื้อ ทั้งสองฝ่ายหากมีลายมือชื่อของคู่สัญญาแต่เพียงฝ่ายใด้ฝ่ายหนึ่ง เอกสารนั้นหาใช่สัญญาเช่าซื้อไม่ 3. สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา ผู้เช่าซื้อมีสิทธิได้รับมอบทรัพย์สินที่เช่าซื้อในสภาพที่ปลอดจาก ความชำรุดบกพร่องหรือในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้ว เพราะผู้ให้เช่าซื้อ มีหน้าที่และความรับผิดชอบในเรื่องทรัพย์สินที่ชำรุดบกพร่อง แม้ว่าผู้ให้เช่าซื้อจะทราบถึงความชำรุดบกพร่องหรือไม่ก็ตาม อย่างเช่น เวลาท่านไปทำสัญญาเช่าซื้อทีวีสีเครื่องหนึ่ง เจ้าของร้านมีหน้าที่ต้องส่งมอบทีวีสีในสภาพที่สมบูรณ์ ไม่มีส่วนที่ผิดปกติแต่ประการใด ถ้าท่านตรวจพบว่า ปุ่มปรับสีหลวมหรือปุ่มปรับเสียงหลวมก็ดี ท่านต้องบอกให้ เจ้าของร้านเปลี่ยนทีวีสีเครื่องใหม่แก่ท่าน เพราะในเรื่องนี้ เป็นสิทธิของท่านตามกฎหมาย และเจ้าของไม่มีสิทธิที่ จะบังคับท่านให้รับทีวีสีที่ชำรุดได้ ผู้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาในเวลาใดก็ได้ด้วยการส่งมอบ ทรัพย์สินกลับคืนให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อ โดยตนเองจะต้องเสีย ค่าใช้จ่ายในการส่งคืน การที่กฎหมายบัญญัติเช่นนี้ ก็เพราะเงินที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อเป็นงวด ๆ เปรียบเสมือนการชำระค่าเช่า ดังนั้น ผู้เช่าซื้อจะบอกเลิกสัญญา ก็ได้ การแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจะต้องส่งมอบทรัพย์สินคืน ให้แก่เจ้าของถ้ามีการแสดงเจตนาว่าจะคืนทรัพย์สินให้ภายหลัง หาเป็นการเลิกสัญญาที่สมบูรณ์ไม่ การบอกเลิกสัญญาจะต้องควบคู่ ไปกับการส่งคืนในขณะเดียวกัน ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินสองคราวติดๆกันหรือกระทำผิดสัญญา ในข้อที่เป็นสาระสำคัญ เจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิก สัญญาเมื่อใดก็ได้ ส่วนเงินที่ชำระราคามาแล้วแต่ก่อน ให้ตกเป็นสิทธิของเจ้าของทรัพย์สินโดยถือเสมือนว่าเป็นค่าเช่า ผู้เช่าซื้อไม่มีสิทธิเรียกคืนจากเจ้าของได้ และเจ้าของทรัพย์สินก็ไม่มีสิทธิเรียกเงินที่ค้างชำระได้ การผิดนัดไม่ชำระจะต้องเป็นการไม่ชำระสองงวดติดต่อกัน หากผิดนัดไม่ใช้เงินเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้งแต่ไม่ติด ๆ กัน เช่น ผิดนัดไม่ใช้เงินเดือนกุมภาพันธ์, เมษายน, มิถุนายน, สิงหาคม ฯลฯ แต่ชำระค่าเช่าซื้อสำหรับเดือนมกราคม, มีนาคม, พฤษภาคม, กรกฎาคม ฯลฯ สลับกันไปเช่นนี้ แม้จะผิดนัดกี่ครั้งกี่หนก็ตาม ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ นั่นคือต้องเป็นในกรณีที่ผู้เช่าซื้อ ผิดนัดไม่ใช้เงินค่าเช่าซื้อสองคราวติดๆกัน เช่นผิดนัด เดือน มิถุนายน และเดือนกรกฎาคม ต่อกัน เจ้าของทรัพย์สินจึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ ข้อยกเว้น แต่ถ้าสัญญาเช่าซื้อระบุไว้ว่าในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อเพียงงวดเดียวก็ให้ถือว่าผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเช่าซื้อ ให้เจ้าของทรัพย์บอกเลิกสัญญาได้ ข้อตกลงเช่นนี้มีผลผูกพันคู่สัญญาได้ ดังนั้น หากผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินเพียงงวดเดียวผู้ให้เช่าซื้อ (เจ้าของ) ก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ในการผิดสัญญาในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ หมายความว่า สัญญาเช่าซื้อนั้นมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เช่าซื้อ มีสิทธิใช้สอยทรัพย์สินและครอบครองในกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าซื้อ จนกว่าจะชำระราคาครบตามข้อตกลง ถ้าผู้เช่าซื้อนำทรัพย์สินไปจำนำและไม่ชำระเงิน ถือว่าผิดสัญญาเช่าซื้อ เจ้าของมีสิทธิบอกเลิกสัญญา และผู้เช่าซื้อมีความผิดอาญาฐานยักยอกทรัพย์ได้อีก เนื่องจากกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้ออยู่ อนึ่ง ในกรณีผู้เช่าซื้อกระทำผิดสัญญา เพราะผิดนัดไม่ใช้เงินซึ่งเป็นงวดสุดท้ายนั้น เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิจะริบบรรดาเงินที่ชำระมาแล้วแต่ก่อนและ ยึดทรัพย์กลับคืนไปได้ต่อเมื่อรอให้ผู้เช่าซื้อมาชำระราคา เมื่อถึงกำหนดชำระราคาในงวดถัดไป ถ้าไม่มาผู้ให้เช่าซื้อริบเงินได้ ที่มา : tulawcenter.org เมื่อเจ้าของทรัพย์ผู้ให้เช่าซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเพราะผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินสองคราวติดกันแล้วเจ้าของทรัพย์มีสิทธิดังต่อไปนี้คือ (1) ริบเงินที่ผู้เช่าซื้อได้ใช้มาแล้วก่อนบอกเลิกสัญญาได้ (2) เจ้าของทรัพย์มีสิทธิกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินนั้นได้ (3) ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิ เรียกร้องให้ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ มีเพียงสิทธิแต่เรียกค่าที่ผู้เช่าซื้อได้ใช้ทรัพย์สินของเจ้าของทรัพย์ตลอดระยะเวลาที่ได้ใช้สอยทรัพย์สิน และมีสิทธิเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุที่ผู้เช่าซื้อได้ใช้ทรัพย์สินนั้นจนเสียหายอันเนื่องจากการใช้ทรัพย์นอกเหนือจากที่ได้ตกลงไว้ในสัญญา ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อกระทำผิดสัญญาเพราะผิดนัดไม่ใช้เงินในคราวที่สุด(งวดสุดท้าย) เจ้าของมีสิทธิดังต่อไปนี้ คือ (1) ริบเงินบรรดาที่ผู้เช่าซื้อได้ใช้เงินมาแล้วทั้งหมดได้ (2) กลับเข้าครอบครองทรัพย์สินได้เมื่อระยะเวลาใช้เงินได้พ้นกำหนดไปอีกงวดหนึ่งแล้ว ฉะนั้น ผู้เช่าซื้อจะต้องระมัดระวังการชำระเงินค่าเช่าซื้อในงวดสุดท้ายให้ดี เพราะมีผู้ให้เช่าซื้อที่ไม่มีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าอาศัยข้อกฎหมายเช่นนี้เอาเปรียบผู้เช่าซื้อซึ่งเป็นลูกค้าของตนด้วยการหลีกเลี่ยงไม่ยอมรับชำระเงินค่าเช่าซื้อในงวดสุดท้าย แล้วอ้างว่าลูกค้าของตนเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อทำการริบเงินค่าเช่าซื้อที่ลูกค้าได้ชำระไปแล้วทั้งหมดและยึดเอาทรัพย์สินคืนจากลูกค้า ดังนั้นผู้เช่าซื้อซึ่งประสบกับปัญหานี้ควรนำเงินไปวางไว้กับเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานวางทรัพย์หรือที่จ่าศาลซึ่งตั้งอยู่ที่ศาลจังหวัดในทุกจังหวัด เพื่อจะได้หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและผู้ให้เช่าซื้อจะอาศัยกฎหมายเอาเปรียบกับผู้เช่าซื้อไม่ได้ หรือนำเงินค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายไปแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อลงบันทึกประจำวันไว้เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับการเช่าซื้อรายนี้ - เทอร์ร่า บีเคเค ที่มา : oknation.net ตัอย่างสัญญาเข่าซื้อ คลิ๊ก ตัวอย่างสัญญาเช่าซื้อที่ดิน คลิ๊ก ขอบคุณที่มาของข้อมูล : วารสารนิติศาสตร์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 โดย อ. มานะ พิทยาภรณ์ : tulawcenter.org “สัญญาจอง” และ “สัญญาจะซื้อจะขาย” แตกต่างอย่างไร ? ทำไมต้องมีทั้ง “สัญญาจอง” และ “สัญญาจะซื้อจะขาย” มันมีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร ไม่เซ็นต์สัญญาจองได้มั๊ย ? นานาคำถามที่มีเข้ามา ทาง TerraBKK กฏหมายคลายปม รวบรวมประเด็นตอบข้อซักถามได้ความตามนี้ สัญญาจองซื้อ ป็นสัญญาลักษณะใหม่ ที่ปัจจุบันผู้ขายอสังหาริมทรัพย์พัฒนาขึ้นเพื่อนำมาใช้แทน “สัญญาจะซื้อจะขาย”



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น