สัญญาตัวแทน
สัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ตัวแทน มีอำนาจทำการแทน
บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ตัวการ และตกลงจะทำการดังนั้น
ลักษณะของสัญญาตัวแทน
1. เป็นสัญญาที่มีบุคคลสองฝ่ายคือ ฝ่ายตัวการและฝ่ายตัวแทน
ข้อสังเกตุ
1. ฝ่ายตัวการจะต้องเป็นผู้มีอำนาจหรือมีความสามารถ
ในอันที่จะกระทำการตามที่ตนจะมอบหมายได้ด้วยตัวเอง
ดังนั้นถ้าหากผู้ใดไม่มีความสามารถที่จะกระทำการใดได้ด้วย
ตนเองแล้วผู้นั้นก็ไม่อาจตั้งตัวแทนได้
ลักษณะของสัญญาตัวแทน (ต่อ)
2. ฝ่ายตัวแทนไม่จำต้องมีอำนาจหรือความสามารถแต่
อย่างใด ดังนั้นผู้เยาว์ ควรไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้
ความสามารถ ก็อาจเป็นตัวแทนได้
2. ต้องมีการตกลงยินยอมทั้งฝ่ายตัวการและฝ่ายตัวแทน
วิธีการตั้งตัวแทน
1. ถ้ากิจการที่จะปฏิบัตินั้นเป็นเรื่องที่มีกฎหมายบังคับว่าจะต้อง
ทำเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย เช่น การซื้อขาย
อสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 456 การเช่าซื้อตามมาตรา 572
วิธีการตั้งตัวแทน (ต่อ)
2. ถ้ากิจการที่จะปฏิบัตินั้นเป็นเรื่องที่มีกฎหมายบัญญัติว่าต้องมี
หลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนก็ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือต่อกัน
เช่น สัญญากู้ยืมเงินตามมาตรา 653 สัญญาจะซื้อจะขายตามมาตรา 456
3. ถ้ากิจการที่จะปฏิบัตินั้นเป็นเรื่องที่กฎหมายมิได้บัญญัติไว้ว่า
ต้องทำอย่างไร การตั้งตัวแทนจะทำวิธีใดก็ได้ จะเป็นการตั้งตัวแทนโดย
แจ้งชัดหรือโดยปริยายก็ได้
ชนิดของตัวแทน
1. ตัวแทนรับมอบอำนาจเฉพาะการ
2. ตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไป
ข้อสังเกตุ มีกิจการบางอย่างที่ตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไปไม่มี
อำนาจกระทำการแทนตัวการ
ก. การขายหรือจำนองอสังหาริมทรัพย์
ข. การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินกว่า 3 ปีขึ้นไป
ค. ให้
ง. ประนีประนอมยอมความ
จ. ยื่นฟ้องคดีต่อศาล
ฉ. การมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา
ความระงับของสัญญาตัวแทน
1. โดยคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญากัน
2. โดยตัวการถอดถอนตัวแทนหรือโดยตัวแทนบอกเลิกเป็น
ตัวแทน
3. ตัวการหรือตัวแทนตาย ตกเป็นผู้ไร้ความสามารถหรือ
ล้มละลาย
4. เมื่อสิ้นกำหนดเวลากรณีสัญญาตัวแทนมีกำหนดเวลากันไว้
แน่นอน
5. เมื่อตัวแทนทำกิจการเสร็จแล้ว
6. กรณีวัตถุประสงค์ของกิจการที่ให้ไปทำนั้นผิดกฎหมาย
นายหน้าบุคคลซึ่งทำสัญญากับบุคคลอีกคนหนึ่งที่เรียกว่า ตัวการ ตกลง
ทำหน้าที่เป็นคนกลางหรือเป็นสื่อชี้ช่องให้ตัวการได้เข้าทำสัญญากับ
บุคคลภายนอก
ลักษณะของนายหน้า
1. นายหน้าเป็นคนกลางหรือสื่อที่ช่วยชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคล
อื่นเข้าไปทำสัญญากัน นายหน้าไม่มีอำนาจที่จะเข้าไปกระทำการแทน
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือไม่มีอำนาจเข้าไปทำสัญญา
2. นายหน้าเป็นสัญญาชนิดหนึ่ง แต่ไม่มีบทบังคับว่าจะต้องทำ
อย่างไร ฉะนั้นนายหน้าจะตกลงกันเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาก็ได้
ลักษณะของนายหน้า (ต่อ)
3. เมื่อนายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการให้คู่สัญญาทำสัญญากันแล้ว
นายหน้าต้องได้รับบำเหน็จ แม้ต่อมาภายหลังฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะผิด
สัญญาหรือเลิกสัญญาก็ตาม
4. บุคคลผู้ไร้ความสามารถเป็นนายหน้าได้ เนื่องจากนายหน้า
เป็นเพียงแต่ผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลเข้าทำสัญญากัน โดยนายหน้า
ไม่ได้เข้าทำสัญญาด้วย
สิทธิ หน้าที่และความรับผิดของนายหน้า
สิทธิของนายหน้า
1. มีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จ
2. มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายที่เสียไป ถ้าตกลงให้เรียกค่าใช้จ่ายที่เสีย
ไปไว้ล่วงหน้า แม้ว่าสัญญาจะมิได้กระทำสำเร็จ
หน้าที่ของนายหน้า
ต้องทำหน้าที่เป็นคนกลางผู้ชี้ช่องหรือจัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง
ให้บุคคลอื่นเข้าทำสัญญาต่อกันโดยสุจริต
ความรับผิดของนายหน้า
นายหน้าไม่มีอำนาจรับเงินหรือรับชำระหนี้แทนคู่สัญญา
บำเหน็จของนายหน้า
สัญญาในหน้านั้นตามปกติต้องถือว่ามีบำเหน็จ แม้จะไม่มี
ข้อตกลงกันไว้ก็ต้องให้ตามธรรมเนียมคือร้อยละ 5
อายุความฟ้องเรียกค่านายหน้า
มีอายุความ 10 ปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น