การเรียนการสอนวิชากฎหมายพาณิชย์

ยินดีต้อนรับเข้าสู่การเรียนการสอนวิชากฎหมายพาณิชย์
บทที่ 10 ค้ำประกัน

สัญญาค้ำประกัน คือสัญญาที่บุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่า  ผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งว่าจะชำระหนี้ให้ เมื่อลูกหนี้ ไม่ชำระหนี้  สัญญาค้ำประกันจะสิ้นผลทันที ถ้าหนี้ดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือหนี้ระงับไปด้วยเหตุใดๆ สัญญาค้ำประกันก็สิ้นผลด้วย
      สัญญาค้ำประกัน จึงประกอบด้วยบุคคล  3 คน คือ
             1.  เจ้าหนี้        2.  ลูกหนี้       3. ผู้ค้ำประกัน              
ผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งว่าจะชำระหนี้ให้ เมื่อลูกหนี้ ไม่ชำระหนี้
      ในสัญญากู้ยืมเงิน  ผู้กู้เป็นลูกหนี้ มีหน้าที่ชำระหนี้ เมื่อหนี้ครบกำหนดตามสัญญากู้ยืมเงิน ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ย่อมได้รับความเสียหาย เพื่อให้เจ้าหนี้มั่นใจว่า ต้องได้รับการชำระคืนแน่นอน จึงยอมให้บุคคลภายนอก มาทำสัญญาผูกพันตนเองต่อเจ้าหนี้ ว่าจะชำระหนี้แทนให้ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น
      สัญญาค้ำประกัน จึงเป็นสัญญาอุปกรณ์  โดยมีสัญญากู้ยืมเงินเป็นสัญญาประธาน หากสัญญาประธานเป็นสัญญาที่ไม่สมบูรณ์ (คือเป็นโมฆะ) สัญญาค้ำประกัน ย่อมมีไม่ได้
      สัญญาประธาน มีได้หลายประเภท เช่นสัญญาบุคคลเข้าทำงาน หนี้อันเกิดจากบุคคลที่เราค้ำประกันการทำงานไปทำความเสียหาย ให้กับนายจ้าง หรือหนี้อันเกิดจากข้าราชการไปศึกษาต่อแล้วผิดสัญญา ผู้ค้ำประกันต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่หน่วยงานที่ข้าราชการคนนั้นสังกัดอยู่
      สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ไม่ต้องมีแบบ  แต่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้
      ฟ้องร้องคดีได้   หมายความว่า   เจ้าหนี้จะฟ้องร้องให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนลูกหนี้ได้
 แบบของสัญญาค้ำประกัน
            ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ มิฉะนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ แต่เจ้าหนี้ยังคงสามารถฟ้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ให้ตามมูลหนี้สัญญาประธานได้
สิทธิของผู้ค้ำประกัน
        เมื่อผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้แล้ว  ผู้ค้ำประกันมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ได้(ฟ้องร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ที่ผู้ค้ำประกันชำระแทนไป)รวมทั้งความเสียหายที่เกิดจาก การค้ำประกันนั้นด้วย
ตัวอย่างปัญหาตุ๊กตา *******
         นาย ปอ  กู้เงิน นางปู 30,000 บาท ทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน  โดยมีนายปลิว เป็นผู้ค้ำประกัน   เมื่อครบกำหนดสัญญาการชำระหนี้ คือ 1 ปีนายปอทวงถามการชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ15 บาทต่อปี   นางปูกับเก็บข้าวของหนีไปอยู่ต่างจังหวัด     นายปอจึงเรียกนายปลิว พี่ชายให้มาชำระแทน เพราะนายปลิวเป็นผู้ค้ำประกัน  นายปลิวโกรธมากเพราะนางปูทำให้เสียชื่อเสียงวงศ์ตระกูล จึงชำระหนี้แทนน้องสาว  เป็นเงินทั้งสิ้น 34,500 บาท  โดยนายปลิวไปกู้เงินของนางน้อย มาชำระหนี้ทั้งหมด
          หนึ่งปีต่อมา  นางปูกลับมา  นายปลิวไล่เบี้ยให้นางปูชำระหนี้  แต่นางปูไม่ยอม นายปลิวจึงฟ้องร้องศาล   นางปูต้องชำระเงิน  30,000  +  4,500 + 5175  = 39,675 บาทให้นายปลิว
ตัวเลขนี้มาอย่างไร
30,000  +  4,500 + 5175  = 39,675  บาท
30,000  คือ เงินที่นางปูไปกู้ยืมนายปอ
4,500    คือดอกเบี้ยที่นายปอคิดจากเงินต้น ตามกฎหมาย
5,175    คือดอกเบี้ยที่นายปลิวไปกู้เงินจากนางน้อย 34,500 มาใช้หนี้นายปอแทนนางปู   เพราะฉะนั้นนางปูจึงต้องจ่ายเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยที่เกิดจากการ ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลา
           ถ้านายปอไม่ฟ้องร้องบังคับคดี สัญญาการกู้ยืมเงิน มี  อายุความในการฟ้องร้อง 10 ปี นับจากวันที่ครบกำหนดชำระหนี้ ถ้าสัญญาไม่มีวันกำหนดการชำระหนี้  อายุความจะเริ่มนับตั้งแต่วันเริ่มทำสัญญา
ความระงับแห่งสัญญาค้ำประกัน   ดังนี้
1. เมื่อหนี้ของลูกหนี้ระงับสิ้นไป
2. เมื่อผู้ค้ำประกันบอกเลิกค้ำประกัน สำหรับกิจการที่ต่อเนื่องกันหลายคราว
3. เมื่อเจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้กับลูกหนี้
4. เมื่อเจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้จากผู้ค้ำประกัน
มาตราที่น่าสนใจ
มาตรา 680 อันว่าค้ำประกันนั้นคือ สัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น สัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่
มาตรา 683 อันค้ำประกันอย่างไม่มีจำกัดนั้น ย่อมคุ้มถึงดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งลูกหนี้ค้างชำระตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นด้วย
  เมื่อเจ้าหนี้ย่อมผ่อนเวลาให้กับลูกหนี้
            ลูกหนี้ผ่อนเวลาการชำระหนี้ ทำให้ยืดเวลาการค้ำประกันของผู้ค้ำ ประกัน  อาจจะก่อให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้ค้ำประกันได้ กฎหมายจึงบัญญัติให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้น จากความรับผิด ในกรณีที่เจ้าหนี้ผ่อนเวลาชำระหนี้ให้กับ ลูกหนี้ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน เช่นสัญญากู้ยืมเงินระบุชำระหนี้ วันที่    1 สิงหาคม 2544  เมื่อถึงกำหนดชำระ ลูกหนี้ชำระหนี้บางส่วน  ส่วนที่เหลือขอชำระ วันที่  1 มกราคม 2545   โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ ค้ำประกัน ดังนั้นสัญญาค้ำประกันระงับแต่แต่ วันที่ สิงหาคม 2544
ลักษณะของสัญญาค้ำประกัน
มาตรา 680 บัญญัติว่า อันว่าค้ำประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอก คนหนึ่งเรียกว่าผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชำระหนี้ ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น
อนึ่ง สัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใด อย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้ บังคับคดีหาได้ไม่
อาจแยกสาระสำคัญของสัญญาค้ำประกันออกได้เป็น 5 ประการ คือ
1. สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาอุปกรณ์
2. ผู้ค้ำประกันต้องเป็นบุคคลภายนอก
3. บุคคลภายนอกผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ว่าเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้นจะชำระ
4. การค้ำประกันนั้นเป็นการทำสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับบุคคลภายนอกผู้ค้ำประกัน
5. กฎหมายมิได้กำหนดแบบของสัญญาค้ำประกันไว้
หลักเกณฑ์ในการทำสัญญาค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกันต้องทำตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวต่อไปนี้
1. ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง
2. ต้องลงลายมือชื่อของผู้ค้ำประกัน จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีให้ผู้ค้ำประกันรับ ผิดตามสัญญาค้ำประกันได้ หากไม่ได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันแล้วก็จะไม่ ได้ประโยชน์เพราะไม่สามารถฟ้องบังคับผู้ค้ำประกันได้
ชนิดของสัญญาค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกันอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. สัญญาค้ำประกันอย่างไม่จำกัดจำนวนกล่าวคือ ลูกหนี้ต้องรับผิดชดใช้หนี้ให้ แก่เจ้าหนี้เป็นจำนวนเท่าใด ผู้ค้ำประกันก็ต้องชดใช้ให้แก่เจ้าหนี้ในจำนวนเท่ากันกับ ลูกหนี้ด้วย คือ ต้องรับผิดในต้นเงิน ดอกเบี้ย ค่าเสียหายในการผิดนัดชำระหนี้ ค่าภาระ ติดพัน ตลอดจนค่าธรรมเนียมในการฟ้องร้องบังคับคดีด้วย
2. สัญญาค้ำประกันจำกัดความรับผิดกล่าวคือ ผู้ค้ำประกันได้ระบุจำนวนไว้ว่า จะรับผิด ไม่เกินจำนวนตามที่ได้ระบุไว้เท่านั้น ดังนั้น หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แล้ว ผู้ค้ำประกันก็จะใช้หนี้ดังกล่าวแทนลูกหนี้เฉพาะเท่าจำนวนที่ตนระบุไว้เท่านั้น
ข้อปฏิบัติในการเข้าทำสัญญาค้ำประกัน
 ผู้ใดจะเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในการชำระหนี้ของบุคคลอื่นนั้น ควรปฏิบัติดังนี้
1. อ่านสัญญาค้ำประกันให้ครบถ้วนทุกข้อก่อนลงชื่อในสัญญาค้ำประกัน
2. หากประสงค์ที่จะค้ำประกันหนี้เพียงบางส่วน ก็ให้เขียนระบุไว้โดยแจ้งชัด ในสัญญาค้ำประกันว่าประสงค์ที่จะค้ำประกันเป็นจำนวนเท่าใด
3. หากไม่ประสงค์ที่จะรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ในฐานะลูกหนี้ร่วมกันแล้ว ก็ต้อง ดูในสัญญาว่ามีข้อความที่ระบุว่าให้ตนรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้หรือไม่ถ้าไม่มีจึงค่อย ลงชื่อในสัญญาค้ำประกัน ถ้าผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้ว ผู้ค้ำประกันมีสิทธิอย่างไร ถ้าผู้ค้ำ ประกันได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้ว ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาคืนจากลูกหนี้เท่าจำนวนที่ ตนได้ชดใช้แทนลูกหนี้ไปแล้ว
ในกรณีดังต่อไปนี้ผู้ค้ำประกันย่อมพ้นจากความรับผิด ไม่ต้องชำระหนี้ให้แก่ เจ้าหนี้
1. ถ้าหนี้ที่ตนค้ำประกันนั้นได้กำหนดวันชำระหนี้ไว้แน่นอนแล้ว ต่อมาเจ้าหนี้ ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้แล้ว ผู้ค้ำประกันเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิด
2. เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว ผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้แทนลูกหนี้ ถ้าเจ้าหนี้ไม่ ยอมรับชำระหนี้ผู้ค้ำประกันก็เป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น