การเรียนการสอนวิชากฎหมายพาณิชย์

ยินดีต้อนรับเข้าสู่การเรียนการสอนวิชากฎหมายพาณิชย์
บทที่ 8 รับขนของ/สินค้า
การขนส่งเป็นปัจจัยสําคัญในการดําเนินธุรกิจโดยทั่วไป ปัจจุบันการขนส่งถือเป็นธุรกิจ
ด้านการ ให้บริการรูปแบบหนึ่ง จึงเกิดเป็นสัญญาขึ้นระหว่างผู้ให้บริการซึ่งเรียกว่า ผู้ขนส่ง
ทําหน้าที่รับขนส่งของ หรือขนส่งคนโดยสารเพื่อหวังบําเหน็จหรือค่าบริการ จากบุคคลผู้ใช้บริการเป็นธุรกิจปกติของตน
สัญญาการขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แบ่งออกเป็น 2 หมวด 
คือ หมวดสัญญา ว่าด้วยการรับขนของและหมวดสัญญาว่าด้วยการรับขนคนโดยสาร
1.สัญญารับขนของ
สัญญารับขนของ หมายถึง สัญญาที่บุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ส่ง หรือ ผู้ตราส่ง 
ทําความตกลงกับ บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ขนส่งเพื่อให้ขนของส่งไปยังบุคคลอีกคนหนึ่ง
เรียกว่า ผู้รับตราส่ง ซึ่งเป็นผู้รับ ของที่เขาส่งไปให้นั้น ส่วนบําเหน็จที่ผู้ส่งต้องจ่ายให้แก่ผู้ขนส่งเนื่องจากใช้บริการของเขานั้นเรียกว่า ค่าระวางพาหนะ
1.1 ลักษณะสําคัญของสัญญารับขนของ
สัญญารับขนของมีลักษณะอันเป็นสาระสําคัญ ดังนี้ 
1.1.1 สัญญารับขนของประกอบด้วยบุคคล 3 ฝ่าย คือ
1) ผู้ส่ง หรือ ผู้ตราส่ง หมายความถึง บุคคลผู้เป็นเจ้าของสิ่งของหรือสินค้า
2) ผู้ขนส่ง หมายถึง บุคคลผู้ประกอบธุรกิจให้บริการรับขนสิ่งของหรือสินค้าตาม 
คําสั่งของผู้ตราส่ง
3) ผู้รับตราส่ง หมายถึง บุคคลผู้รับสิ่งของหรือสินค้าปลายทาง
1.1.2 ผู้ขนส่งดําเนินการโดยประสงค์บําเหน็จหรือค่าระวางพาหนะ อันเป็นธุรกิจปกติ
ของตน ถ้าผู้ขนส่งกระทําการโดยไม่ประสงค์บําเหน็จก็ไม่ใช่สัญญารับขนของ แต่อาจเป็นสัญญาฝากทรัพย์
1.1.3 สัญญารับขนของเป็นสัญญาต่างตอบแทน หมายความว่า คู่สัญญา
ต่างได้รับประโยชน์ คือ ผู้ตราส่งได้รับบริการจากผู้ขนส่งทําให้สิ่งของหรือสินค้าไปถึงมือผู้รับตราส่ง ขณะที่ผู้ขนส่งได้รับบําเหน็จ หรือค่าระวางพาหนะตอบแทน
1.2 หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ตราส่งและผู้ขนส่ง
1.2.1 หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ตราส่ง
ผู้ตราส่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
1) ผู้ตราส่งต้องจัดทําเอกสารหรือที่เรียกว่า ใบกํากับสิ่งของ หรือ ใบกํากับสินค้า 
ซึ่งเป็นเอกสารแสดงถึงรายการสิ่งของหรือสินค้าที่จะส่งมอบให้แก่ผู้ขนส่งเมื่อผู้ขนส่งร้องขอ
โดยเอกสารดังกล่าวต้องแสดงรายการดังต่อไปนี้
(1) สภาพและน้ําหนักหรือขนาดสิ่งของที่ส่งรวมทั้งสภาพจํานวนและเครื่องหมาย 
บนหีบห่อ

(2) สถานที่กําหนดให้ส่งสิ่งของหรือสินค้านั้นไป 
(3) ชื่อ หรือ ยี่ห้อและสํานักงานของผู้รับตราส่งปลายทาง 
(4) วันและสถานที่ออกใบกํากับสินค้านั้น
(5) ลายมือชื่อผู้ตราส่ง
                       
                             https://thai-civil-code.blogspot.com/2009/09/blog-post_1960.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น